1     2     3  
โครงการพลิกฟื้นธุรกิจสถาบันเกษตรกรผ่านกลไกการบัญชี



โครงการพลิกฟื้นธุรกิจสถาบันเกษตรกรผ่านกลไกการบัญชี

โครงการพลิกฟื้นธุรกิจสถาบันเกษตรกรผ่านกลไกการบัญชี ปี 2552 - 2553
หลักการและเหตุผล
  • สถาบันเกษตรกรประกอบด้วย สหกรณ์ กลุ่มเกษตรกรและวิสาหกิจชุมชน มีการจัดการเป็นไปตามพระราชบัญญัติและพระราชกฤษฎีกาที่กำหนด ภายใต้แนวปรัชญา "เศรษฐกิจพอเพียง" ในการช่วยตนเอง ร่วมคิดร่วมทำ รวมกลุ่มเพื่อพึ่งพาสู่ความยั่งยืน
  • ปัจจุบันสหกรณ์ภาคการเกษตรมีระบบการบริหารจัดการธุรกิจที่ซับซ้อนตามภาวะเศรษฐกิจ ในการพัฒนาโครงสร้างการผลิต การตลาด การแปรรูป  จำเป็นต้องมีความเชื่อมโยงของโอกาสทางองค์ความรู้ การใช้ทรัพยากร และทุนของสถาบันเกษตรกรให้มีประสิทธิภาพ  ประสิทธิผล  และคุ้มค่า ประกอบกับธุรกิจของสถาบันเกษตรกรต้องได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
  • ให้การดำเนินธุรกิจเอื้อประโยชน์ต่อมวลสมาชิกโดยรวม ภายใต้หลักการสร้างสรรค์ชุมชนบนพื้นฐาน "การให้" และ "กิจกรรมทางสังคม"  สนับสนุนสิ่งแวดล้อม (Cooperate Social Responsibility)
  • ฐานข้อมูลเปรียบเทียบสหกรณ์ภาคการเกษตรระหว่างปี 2549 - 2551 โดยสรุป

เปรียบเทียบ 5 ธุรกิจหลักของสถาบันภาคเกษตร ปี 2549/2551

รายได้-รายจ่าย-กำไรของสถาบันภาคเกษตร ปี 2549/51

     จากหลักการและเหตุผลดังกล่าวข้างต้น กรมตรวจบัญชีสกหรณ์ จึงจัดทำโครงการพลิกฟื้นธุรกิจสถาบันเกษตรกรผ่านกลไกการบัญชี  โดยยึดสถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางการให้บริการ ในการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชน อาทิ  กองทุนหมู่บ้านและสถาบันการศึกษา เพื่อมุ้งเน้นการสร้างวินัยการสหกรณ์ และวินัยทางการเงินของสมาชิกสหกรณ์  ตลอดจนมิติการสร้างความเข้มแข็ง และพึ่งพาตนเองได้ ในการพัฒนาธุรกิจของสถาบันเกษตรกรให้มีความเข้มแข็งด้าน "ทุนทางสังคม"  (Social capital)  และ "ความสามารถทางการบริหารจัดการ"  (Management capacity)  ซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2550  แนวนโยบายด้านเศรษฐกิจ มาตรา 84(9) ที่กำหนดให้รัฐดำเนินการส่งเสริมสนับสนุน และคุ้มครองระบบสหกรณ์ให้เป็นอิสระ รวมทั้งเพื่อให้การพัฒนาการสหกรณ์ ตามแผนพัฒนาสหกรณ์ ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2550 - 2554)  บรรลุวิสัยทัศน์การสหกรณ์ไทย "มุ่งสร้างระบบสหกรณ์ที่มีคุณค่า เพื่อการนำพาสู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุข"
 
วัตถุประสงค์ของโครงการ
  • เพื่อให้สถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางการให้บริการเชื่อมโยงเครือข่ายชุมชนในการพัฒนาธุรกิจให้โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ
  • ส่งเสริมให้สหกรณ์มีระบบการควบคุมภายในที่ดี และสามารถลดข้อบกพร่องทางการเงินการบัญชี
  • สนับสนุนแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในการร่วมคิดร่วมทำเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนและสังคม
การดำเนินงาน
  • เพื่อให้ "กลไกการบัญชี" เป็นเครื่องมือสร้างประสิทธิภาพและความโปร่งใสของสถาบันเกษตรกร  ตลอดจนเป็นกลไกของเครือข่ายกลุ่มบุคคลที่มีวินัยทางการเงิน  จึงได้กำหนดการดำเนินงาน รวม 7 มิติ  โดยยึดสถาบันเกษตรกรเป็นศูนย์กลางการให้บริการ
    • มิติการสร้างมาตรฐานการบัญชีสถาบัน (Audit/Account) : ความโปร่งใส
      • มุ่งเน้นการสร้างมาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการสอบบัญชีเพื่อความโปร่งใสและสร้างศรัทธาต่อสมาชิกสถาบัน
    • มิติการสร้างเครื่องมือสารสนเทศ (IT/เตือนภัย) : ความเสี่ยง
      • มุ่งเน้นการสร้างระบบเตือนภัยในการจัดการธุรกิจของสถาบันเกษตรกร เพื่อลดความเสี่ยงและเพิ่มอัตรากำไรต่อหน่วย
    • มิติการสร้างความร่วมมือผู้ตรวจสอบกิจการ (WWR) : ศักยภาพการจัดการ
      • มุ่งเน้นการเพิ่มศักยภาพการบริหารงานของคณะกรรมการภายใต้การร่วมมือของผู้ตรวจสอบกิจการและผู้สอบบัญชี
      • มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาภาวะเศรษฐกิจทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการกลุ่มและการดำเนินธุรกิจกลุ่ม
    •  มิติการสร้างภูมิปัญญาทางบัญชีสมาชิก : วินัยครอบครัว
      • มุ่งเน้นให้เกิดการปกป้องวิถีชีวิตตนเอง  รับรู้รายรับ  รับรู้รายจ่าย  รับรู้ต้นทุนการผลิต และสิ่งสำคัญต้องสร้างวินัยการออมเพื่อความผาสุกของชีวิต
    • มิติการสร้างเครือข่ายธุรกิจวิสาหกิจชุมชน : การผลิต/การแปรรูป/การตลาด
      • มุ่งเน้นการสร้างเครือข่ายการบริการ การรวมผลผลิตและการตลาดของวิสาหกิจชุมชนร่วมกับสหกรณ์/กลุ่ม
    • มิติการสร้างความสนใจเกษตรกรรุ่นใหม่ (นักเรียน) : บ่มเพาะเกษตรกรอนาคต
      • มุ่งเน้นบ่มเพาะการออมให้กับบุตรหลานเกษตรกรเพื่อการประหยัดและวางรากฐานชีวิตในอนาคต
    • มิติการสร้างอาสาสมัคร/ครูบัญชีอาสา : ชุมชนเข้มแข็ง
      • มุ่งเน้นการสร้างความร่วมมือภูมิปัญญาท้องถิ่น เสริมความรู้วินัยทางการเงินของสมาชิก และกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตลอดจนสมาชิกในชุมชน
เป้าหมาย

รูปแบบการให้บริการ ปี 2553