1     2     3  
โครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชี



โครงการเสริมสร้างภูมิปัญญาทางบัญชี

1. หลักการและเหตุผล
ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริม สนับสนุนและช่วยเหลือให้ชุมชนต่าง ๆสร้างรายได้จากการเพิ่มมูลค่า
ให้ทรัพยากรและผลผลิตต่าง ๆ ในท้องถิ่น อันจะเป็นผลให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้ ซึ่งจะทำให้ครอบครัวและชุมชนมี
ความมั่นคง เกิดระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งพระ
มหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ท่านทรงสร้างอาชีพ สนับสนุน ส่งเสริม และ
ฝึกอาชีพให้ราษฎรทำตามความถนัด และด้วยพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อราษฎร ซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของ
ประเทศ

กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ เป็นหน่วยงานราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บริการด้านการตรวจ
สอบบัญชี วางระบบบัญชี กำกับแนะนำด้านการเงินการบัญชี และสอนแนะนำความรู้ด้านบัญชีให้แก่เกษตรกรและ
สถาบันเกษตรกร ได้ตระหนักถึงการมีส่วนร่วมตามนโยบายส่งเสริมสนับสนุนและช่วยเหลือชุมชนต่าง ๆ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งชุมชนที่มีการรวมกลุ่มกันประกอบอาชีพ โดยมีผู้นำกลุ่มเป็นแกนนำในการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อให้เกิด
ระบบเศรษฐกิจชุมชนที่เข้มแข็ง เกษตรกรจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการทำบัญชีรายรับรายจ่ายซึ่งเป็นพื้นฐานทาง
บัญชี และพัฒนาให้เกษตรกรสามารถคิดกำไรขาดทุนจากการประกอบอาชีพของตนเองได้อย่างยั่งยืน กรมตรวจ
บัญชีสหกรณ์ จึงได้จัดทำโครงการอบรมสอนแนะนำการจัดทำบัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือน ต่อเนื่องด้วยบัญชีต้นทุน
ประกอบอาชีพ ให้แก่เกษตรกร และขยายผลไปสู่เยาวชน เพื่อให้สามารถควบคุมรายจ่ายในครัวเรือน และคำนวณ
ต้นทุนของการประกอบอาชีพได้

2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้รับการสอนแนะนำการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุน
การประกอบอาชีพ
2.2 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ สามารถจำแนกรายรับ – รายจ่ายในครัวเรือน รายได้ และค่าใช้จ่ายใน
การประกอบอาชีพได้
2.3 เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายสามารถจัดทำบัญชีรับ – จ่ายในครัวเรือน และบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพได้อย่าง
สม่ำเสมอ
3. เป้าหมาย
อบรมสอนแนะนำด้านบัญชีให้แก่เกษตรกร/เยาวชนที่ประกอบอาชีพทอผ้า/หัตถกรรมอื่นๆ ในพื้นที่
ดำเนินโครงการศิลปาชีพทั้ง 15 จังหวัด ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา สุรินทร์ อุบลราชธานี ร้อยเอ็ด มุกดาหาร
กาฬสินธุ์ ศรีสะเกษ อุดรธานี เลย สกลนคร หนองคาย ขอนแก่น นครพนม แม่ฮ่องสอน และนครศรีธรรมราช
จำนวน 2,000 คน และสร้างเกษตรกรต้นแบบ 100 ราย

4. วิธีดำเนินการ
4.1 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นที่เป้าหมาย ดำเนินการ
(1) จัดทำแผนอบรมและแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายทราบ
(2) เตรียมอาสาสมัครเกษตรด้านบัญชี เพื่อทำหน้าที่ติดตามสอนแนะนำ
(3) สอนแนะนำการจัดทำบัญชีรับ – จ่ายในครัวเรือนให้แก่กลุ่มเป้าหมาย
(4) สอนแนะนำการจัดทำบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพให้แก่กลุ่มเป้าหมายที่ผ่านการอบรมสอนแนะนำบัญชีรับ
– จ่ายในครัวเรือนและมีความพร้อมในการเรียนรู้
(5) บันทึกฐานข้อมูลกลุ่มเป้าหมายในระบบฐานข้อมูลของโครงการฯ
(6) อาสาสมัครเกษตรด้านบัญชีติดตามสอนแนะนำกลุ่มเป้าหมาย 2 ครั้ง และเก็บข้อมูลตัวเลขการบันทึก
บัญชีรับ - จ่ายในครัวเรือนของกลุ่มเป้าหมาย
(7) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามที่กรมฯ กำหนด
4.2 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ที่ 1, 3 – 5 , 7 และ8 ติดตามตรวจเยี่ยมเกษตรกรในโครงการเป็นครั้งคราว
ประมาณปีละ 1 ครั้ง
4.3 ส่วนกลางกำหนดแนวทางในการปฏิบัติงานพร้อมกับสนับสนุนเอกสารแผ่นพับ สมุดบัญชี และสื่อการ
สอนรวมทั้งติดตามประเมินผลความสำเร็จของโครงการฯ

5. พื้นที่ดำเนินการและจำนวนกลุ่มเป้าหมาย

สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์พระนครศรีอยุธยา
จำนวน
             18
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สุรินทร์
จำนวน
150
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุบลราชธาน
จำนวน
200
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ร้อยเอ็ด
จำนวน
100
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์มุกดาหาร
จำนวน
200
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์กาฬสินธุ์
จำนวน
100
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ศรีสะเกษ
จำนวน
100
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์อุดรธานี
จำนวน
150
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์เลย
จำนวน
130
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์สกลนคร
จำนวน
200
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์หนองคาย
จำนวน
100
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ขอนแก่น
จำนวน
200
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครพนม
จำนวน
200
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์แม่ฮ่องสอน
จำนวน
52
คน
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์นครศรีธรรมราช
จำนวน
100
คน
6. ระยะเวลาดำเนินการ
ปีงบประมาณ 2553

7. งบประมาณโครงการ

งบประมาณจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์

8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
8.1 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการสอนบัญชีรับ – จ่ายในครัวเรือน มีความรู้เรื่องรายรับ รายจ่าย และสามารถ
ทำบัญชีได้
8.2 กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับการสอนบัญชีต้นทุนประกอบอาชีพ มีความรู้เรื่องการคำนวณรายได้และค่าใช้จ่าย
จากการประกอบอาชีพ และสามารถทำบัญชีได้
9. ตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการ
เกษตรกรต้นแบบมีการพัฒนาศักยภาพทางบัญชี สามารถลดต้นทุนประกอบอาชีพได้ 10 %