1. หลักการและเหตุผล
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้า ฯ ให้ดำเนินโครงการตามพระราชดำริ ฯ ในโรงเรียน
ถิ่นทุรกันดารเพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ทั้งด้านสุขภาพอนามัยทางร่างกายและพัฒนาด้านจิตใจมีความ
พร้อมที่จะเรียนรู้ทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิตได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยการดำเนินโครงการฯ มุ่งเน้นให้เด็กนักเรียนมีความรู้
และทักษะในการทำงานจากการฝึกปฏิบัติจริง เกิดการเรียนรู้ต่างๆอย่างเป็นขั้นตอนซึ่งเป็นรากฐานสำคัญในการเรียนรู้ต่อไปใน
อนาคต หากไม่เรียนต่อในชั้นที่สูงขึ้นไปก็สามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพต่อไปได้
กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ได้ร่วมสนองงานตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี มาโดย
ตลอด ตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 จนถึงปัจจุบัน โดยดำเนินงานตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ที่มีการปรับกรอบแนว
คิดการพัฒนาแบบแยกด้าน แยกโครงการมาเป็นการพัฒนาแบบองค์รวม โดยสอดแทรกสอนแนะนำการจัดทำบัญชีไว้ใน
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ถ่ายทอดให้แก่ครูไปสู่นักเรียน เพื่อฝึกหัดให้เด็กและเยาวชนมีความรู้ด้านการบัญชี ให้รู้จักการคิดคำนวณ
เลข รู้จักวางแผนในการจำหน่ายสินค้าและผลผลิต ปลูกฝังให้รักการจดบันทึกบัญชี อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปใช้ใน
ชีวิต ประจำวันของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำให้รู้จักการใช้บัญชีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างและพัฒนานักเรียนให้เป็นยุวเกษตรกร ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ
สยามบรมราชกุมารี ได้มีโอกาสร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ และร่วมพัฒนาภูมิปัญญาทางบัญชีผ่านกลไกสหกรณ์นักเรียน อันจะก่อให้เกิด
วินัยการออมในอนาคต เป็นการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง การจัดการภูมิปัญญาทางบัญชีระหว่างโรงเรียน ยุวเกษตรกร ครอบครัว
เกษตรกร และชุมชน มุ่งเน้นให้นักเรียนสมาชิกสหกรณ์ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมพัฒนา ผ่านกลไกสหกรณ์นักเรียน โดยปรับ
เปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบบรรยายเป็นแบบ โครงงาน เป้าหมายเพื่อสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านการบัญชีสหกรณ์
นักเรียน สร้างโรงเรียนต้นแบบ ทำบัญชี มีระบบการควบคุมภายในที่ดี มีการเรียนการสอนแบบโครงงาน และสร้างผู้ปกครองต้น
แบบ เปิดโอกาสให้นักเรียนร่วมคิด ร่วมเรียนรู้ ร่วมพัฒนา โดยให้ครูเป็นที่ปรึกษา อันจะเป็นพื้นฐานสำคัญในการนำไปใช้ในชีวิต
ประจำวันของตนเอง ครอบครัว และชุมชน ทำให้รู้จักการใช้บัญชีเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืน
2. วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อให้คุณครู และนักเรียนได้เรียนรู้และเข้าใจวิธีการจดบันทึกบัญชีสำหรับโครงการส่งเสริมสหกรณ์ และโครงการ
เกษตรเพื่ออาหารกลางวัน
2.2 เพื่อให้นักเรียนได้ร่วมคิด ร่วมเรียนรู้และร่วมพัฒนาภูมิปัญญาทางบัญชี
2.3 เพื่อสร้างวินัยทางการเงินให้เกิดแก่ครอบครัว และสถาบันการศึกษา
2.4 เพื่อสร้างเครือข่ายการจัดการภูมิปัญญาทางบัญชีระหว่างโรงเรียน ยุวเกษตรกร ครอบครัวเกษตรกร และชุมชน
3. เป้าหมาย
3.1 โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพื้นที่ 48 จังหวัด จำนวน
411โรงเรียน
3.2 คัดสรรโรงเรียนเข้าโครงการนำร่องโรงเรียนต้นแบบ จำนวน 70 โรงเรียน สร้างเป็นต้นแบบภายใต้กิจกรรมสหกรณ์
นักเรียน มุ่งเน้น
(1) การทำบัญชีด้วยระบบ Manual และพัฒนาให้มีการจัดทำรายงานกำไรขาดทุนรายงานทรัพย์สิน หนี้สินและทุน
คงเหลือ ด้วยโปรแกรมระบบบัญชี
(2) มีระบบการควบคุมภายในดี
(3) มีการจัดทำโครงงาน
(4) สร้างผู้ปกครองต้นแบบให้ทำบัญชีต้นทุนอาชีพ 20 คน ต่อ 1 โรงเรียนต้นแบบ
4. วิธีดำเนินการ
4.1 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ระดับจังหวัด ดำเนินการ
(1) จัดทำแผนการอบรม และแจ้งให้กลุ่มเป้าหมายในโครงการฯทราบ
(2) เตรียมข้อมูลของโรงเรียนในพื้นที่เป้าหมาย และนิเทศผู้รับผิดชอบงานโครงการตามพระราชดำริ เพื่อให้เป็นวิทยากร/
ผู้นิเทศงานและติดตามการจัดทำบัญชีของกลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ
(3) อบรม/สอนแนะการจัดทำบัญชี และการทำโครงงานให้แก่กลุ่มเป้าหมายในโครงการฯ เป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม
ตามแต่สภาพของพื้นที่
(4) ติดตามและให้คำแนะนำการจัดทำบัญชี อย่างน้อยเทอมละ 1 ครั้ง โดยจะต้องบันทึกข้อมูลการตรวจเยี่ยมไว้ในสมุด
บันทึกการตรวจเยี่ยมทุกครั้งที่เข้าตรวจเยี่ยม
(5) ร่วมนิเทศงานกับสำนักงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
(6) จัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่กรมฯกำหนด
4.2 สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ระดับภาค ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการฯ เพื่อช่วยเหลือสนับสนุนการปฏิบัติงานของ
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ในพื้นที่ ร่วมนิเทศงานกับสำนักงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี และจัดทำรายงานผลการปฏิบัติงานตามรูปแบบที่กรมฯกำหนด
4.3 สำนักส่งเสริมพัฒนาการบัญชีและถ่ายทอดเทคโนโลยี
กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน พัฒนารูปแบบบัญชี พร้อมกับสนับสนุนเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี สมุดบัญชี
และสื่อการสอน ร่วมนิเทศงานกับสำนักงานโครงการตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ติดตามผลการดำเนินงาน และความสำเร็จของโครงการฯ เสนอกรมฯ
5. ผู้ดำเนินการ
สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ 48 จังหวัด
6. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
6.1 นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการจัดทำโครงงาน และพัฒนาการเรียนรู้ด้านบัญชีด้วยตนเอง
6.2 นักเรียนมีวินัยในการใช้จ่ายเงิน
6.3 นักเรียนสามารถนำความรู้ด้านบัญชีไปใช้ในครอบครัว และโรงเรียน
7. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ครูและนักเรียนได้รับการอบรม/สอนแนะการจัดทำบัญชีกิจกรรมต่าง ๆ ในโรงเรียน และสามารถจัดทำสมุดบัญชี และเอกสารประกอบการบันทึกบัญชีได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 |